จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

สมมติฐาน (Hypothesis)


www.satit.nu.ac.th/nud/strand/science/project_1/Proposal.doc     ได้รวบรวมไว้ว่า  สมมติฐานของการวิจัย : เป็นการคาดคะเนผลที่จะได้จากการพิสูจน์ โดยการแสดงความสัมพันธ์ของตัวแปรที่ทดสอบหรือพิสูจน์ได้  ซึ่งต้องสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัย  ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพจะไม่เขียนสมมติฐานการวิจัย

อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ (2555 : 6)  ได้กล่าวไว้ว่า สมมติฐานการวิจัยเป็นการคาดคะเนคำตอบที่จะได้จากการวิจัยไว้ก่อนล่วงหน้า  ควรมีลักษณะดังนี้

          1.  สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการวิจัย

2.  เกี่ยวข้องกับปัญหาและมีความเป็นไปได้

          3.  เป็นข้อความบอกเล่าหรือคำถามก็ได้ ที่แสดงความเป็นเหตุเป็นผลกันระหว่างตัวแปรที่ศึกษา

          4.  ได้มาจากการบททวน ประมวลเอกสารที่เกี่ยวข้องไม่ใช่การตั้งขึ้นลอยๆ

          5.  ใช้ภาษาง่าย ๆ ไม่กำกวม หลีกเลี่ยงคำที่แสดงถึงคุณภาพ (เช่น ดีมาก น้อย พอ ไม่พอ)

          6.  สามารถทดสอบได้ด้วยวิธีการทางสถิติ

           การวิจัยบางชนิดหรือบางเรื่อง ที่ไม่สามารถคาดคะเนคำตอบได้ หรือเป็นการวิจัยที่ต้องการแสวงหาความรู้  ข้อเท็จจริง  เช่น การวิจัยเชิงประวิติศาสตร์ การวิจัยแบบวิเคราะห์เอกสาร ไม่จำเป็นต้องมีการสมมติฐาน

บุญชม  ศรีสะอาด  (2554:31)  ได้รวบรวมไว้ว่า สมมติฐานในการวิจัย คือ คำตอบสรุปของผลการวิจัยที่ผู้วิจัยคาดการณ์หรือพยากรณ์ไว้ล่วงหน้า ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล คำตอบดังกล่าวได้มาจากการไตร่ตรองโดยใช้หลักเหตุผลที่น่าจะเป็นให้มากที่สุด โดยมีรากฐานทฤษฎี ผลการศึกษาค้นคว้าหรือผลการวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ผู้วิจัยมั่นใจว่าผลการวิจัยน่าจะตรงกับสมมติฐานที่ได้ระบุไว้ สมมติฐานที่ตั้งไว้นี้อาจถูกต้องตามหลักฐานที่ปรากฏจากการวิจัยหรืออาจไม่ถูกต้องก็ได้ เพราะการตั้งสมมติฐานนั้นไม่ได้ตั้งขึ้นมาลอยๆ แต่ตั้งจากหลักเหตุผล ที่สนับสนุนด้วยทฤษฎีและผลการวิจัยที่ผ่านมา

สรุป สมมติฐานในการวิจัย คือ การคาดคะเนคำตอบที่จะได้จากการวิจัยไว้ก่อนล่วงหน้า ก่อนการเก็บรวบรวมข้อมูล เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ หรือตอบปัญหาต่างๆ โดยอาศัยประสบการณ์ ความรู้ ความสามารถ เป็นการเสนอคำตอบชั่วคราวของปัญหาที่ยังไม่ได้ทำการตรวจสอบ โดยอาศัยข้อมูลจากการไปตรวจสอบเอกสาร หรือเป็นการเดาอย่างมีเหตุผลซึ่งสมมติฐานนั้นไม่จำเป็นจะต้องเป็นจริงเสมอไป

ที่มา : ชื่อเว็บไซค์  www.satit.nu.ac.th/nud/strand/science/project_1/Proposal.doc    เข้าถึงเมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2555.

อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ.  (2555).  เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เค้าโครงการวิจัย. 

บุญชม  ศรีสะอาด.  (2554).  การวิจัยเบื้องต้น.  (พิมพ์ครั้งที่ 9).  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น