จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ความสำคัญและที่มาของปัญหาการวิจัย (Background & Rationale)


Chittrapa  Kundalaputra  (http://www.gotoknow.org/blogs/posts/261202)  ได้รวบรวมไว้ว่า  การเขียนความสำคัญและความเป็นมาของการวิจัย เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้ และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบ โดยกระบวนการวิจัย

บุญชม  ศรีสะอาด (2554 : 16)  ได้รวบรวมไว้ว่า    ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (background and rationale)  อาจเรียกต่างๆกัน เช่น หลักการและเหตุผล ภูมิหลังของปัญหา ความจำเป็นที่จะทำการวิจัย หรือ ความสำคัญของโครงการวิจัย ฯลฯ ไม่ว่าจะเรียกอย่างไร ต้องระบุว่าปัญหาการวิจัยคืออะไร มีความเป็นมาหรือภูมิหลังอย่างไร มีความสำคัญ รวมทั้งความจำเป็น คุณค่าและประโยชน์ ที่จะได้จากผลการวิจัยในเรื่องนี้ โดยผู้วิจัยควรเริ่มจากการเขียนปูพื้นโดยมองปัญหาและวิเคราะห์ปัญหาอย่างกว้างๆ ก่อนว่าสภาพทั่วๆไปของปัญหาเป็นอย่างไร และภายในสภาพที่กล่าวถึง มีปัญหาอะไรเกิดขึ้นบ้าง ประเด็นปัญหาที่ผู้วิจัยหยิบยกมาศึกษาคืออะไร ระบุว่ามีการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ มาแล้วหรือยัง ที่ใดบ้าง และการศึกษาที่เสนอนี้จะช่วยเพิ่มคุณค่า ต่องานด้านนี้ ได้อย่างไร

www.satit.nu.ac.th/nud/strand/science/project_1/Proposal.doc     ได้รวบรวมไว้ว่า   ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา : เป็นการบรรยายให้เห็นว่าเรื่องที่จะทำการวิจัยนี้มีความเป็นมาและมีความสำคัญอย่างไรจึงต้องทำการวิจัย มักจะเริ่มต้นการเขียนถึงสภาพแวดล้อมแบบกว้าง ๆ เข้ามาสู่เรื่องแคบ ๆ แล้วสรุปให้เห็นปัญหาการวิจัยจนทำให้ต้องทำการวิจัยเกี่ยวกับเรื่องนี้

สรุป ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา (background and rationale) เป็นการเขียนเพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงต้องวิจัยเรื่องนี้ ข้อค้นพบจากการวิจัยจะนำมาใช้ประโยชน์อย่างไร มีความคุ้มค่าหรือไม่ในการวิจัยเรื่องดังกล่าว นิยมเขียนเน้นความเรียงที่เน้นความเป็นเหตุเป็นผล มีความสัมพันธ์เชื่อมโยงของเนื้อหาสาระ โดยให้มีความกระชับเข้าใจง่าย การเขียนนำเข้าสู่ปัญหาวิจัยควรเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวปัญหา โดยเขียนให้ข้อมูลที่ชัดเจนว่า ณ เวลาปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานงานวิจัยในอดีตที่สามารถตอบปัญหาดังกล่าวได้ และปัญหาดังกล่าวสมควรได้รับการแก้ไขด้วยการหาคำตอบ โดยกระบวนการวิจัย

ที่มา :  Chittrapa  Kundalaputra  เว็บไซค์  http://www.gotoknow.org/blogs/posts/261202    เข้าถึงเมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2555.

บุญชม  ศรีสะอาด.  (2554).  การวิจัยเบื้องต้น.  (พิมพ์ครั้งที่ 9).  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 

ชื่อเว็บไซค์  www.satit.nu.ac.th/nud/strand/science/project_1/Proposal.doc    เข้าถึงเมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2555.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น