จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

อุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการวิจัยและมาตรการในการแก้ไข


พิสณุ ฟองศรี (2549:51) กล่าวว่า นักวิจัยที่มีประสบการณ์จะทราบถึงอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นทั้งปัญหาที่คาดการณ์ได้ล่วงหน้า และคาดการณ์ไม่ได้ ในกรณีนิสิตนักศึกษาถ้าได้พบปะอาจารย์ที่ปรึกษาสม่ำเสมอ โอกาสจะประสบปัญหาจนแก้ไม่ได้จะลดน้อยลง
แนวทางการแก้ไข
            1) กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
          2) สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
           3) ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
         4) ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
           5) มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง

ภิรมย์ กมลรัตนกุล (2531:8) ได้กล่าวไว้ว่า การทำวิจัย ต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้

แนวทางการแก้ไข

นักวิจัย อาจจำเป็นต้องมี การปรับแผนบางอย่าง เพื่อให้สามารถปฏิบัติได้ แต่สิ่งสำคัญก็คือ ผู้วิจัย ต้องตระหนัก หรือรู้ถึงขีดข้อจำกัด ดังกล่าวนั้น และมีการระบุ ไว้ในโครงร่าง การวิจัยด้วย ไม่ใช่แกล้งทำเป็นว่า ไม่มีข้อจำกัดเลย จากนั้น จึงคิดหามาตรการ อย่าให้ "ความเป็นไปได้" มาทำลาย ความถูกต้อง เสียหมด เพราะจะส่งผลให้ งานวิจัยเชื่อถือไม่ได้

สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม (2538:6) ได้กล่าวไว้ว่า อุปสรรคในการวิจัยที่สำคัญ สรุปได้ ดังนี้

            1) ขาดนักวิจัยที่มีคุณภาพ นักวิจัยในสถาบันอุดมศึกษาของรัฐ ซึ่งเป็นกำลังหลัก 16,351 - 19,115 คน
สามารถผลิตผลงานวิจัยในเกณฑ์ดี ดีมาก และดีเด่นได้เพียงร้อยละ 5.6 , 0.6 และ 0.1 เท่านั้น
            2) ผู้บริหารขาดความสามารถในการบริหารจัดการและไม่เห็นความสำคัญของการวิจัย
            3) มีแหล่งเงินทุนเพื่อการวิจัยน้อย
           4) นักวิจัยมีภาระงานอื่นที่ต้องปฏิบัติมากทำให้ไม่มีเวลาสำหรับทำวิจัย
           5) ขาดผู้ช่วยงาน ทรัพยากรสนับสนุนการวิจัย และมีปัญหาขาดความร่วมมือในการวิจัย

แนวทางการแก้ไข
            1) กำหนดนโยบาย ทิศทาง เป้าหมายหลัก และแผนงานวิจัยระดับชาติที่ชัดเจนและเป็นเอกภาพ
            2) สนับสนุนองค์กรจัดสรรทุนอย่างจริงจังให้มีความเป็นอิสระ มีความหลากหลายในทางปฏิบัติ เพื่อให้การจัดสรรทุนเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และสัมฤทธิผลของงานวิจัยที่มีคุณภาพ
            3) ต้องมีมาตรการการสร้างนักวิจัยที่มีคุณภาพควบคู่ไปกับงานวิจัยของชาติ
            4) ระดมทุนและทรัพยากรทั้งภาครัฐและเอกชน มีมาตรการจัดสรรทุนและทรัพยากรที่ดี เพื่อให้ผลิตผลงานวิจัยที่ได้คุณภาพ
           5) มีมาตรการสร้างความเข้มแข็งให้แก่หน่วยงานวิจัยเฉพาะทาง

สรุป  นักวิจัยที่มีประสบการณ์จะทราบถึงอุปสรรคที่อาจเกิดขึ้นทั้งปัญหาที่คาดการณ์ได้ล่วงหน้า และคาดการณ์ไม่ได้ นักวิจัยต้องพยายามหลีกเลี่ยงอคติ และความคลาดเคลื่อน ที่อาจจะเกิดขึ้น จากการวิจัยนั้น ให้มากที่สุด เพื่อให้ผลการวิจัย ใกล้เคียงกับความเป็นจริง โดยใช้รูปแบบการวิจัย, ระเบียบวิธีวิจัย และสถิติที่เหมาะสม แต่ในสภาพความเป็นจริงแล้ว อาจมีข้อจำกัดต่าง ๆ เกิดขึ้น ดังนั้น การคำนึงเฉพาะ ความถูกต้องอย่างเดียว อาจไม่สามารถ ทำการวิจัยได้


ที่มา : พิสณุ  ฟองศรี.  (2553).  วิจัยทางการศึกษา.  พิมพ์ครั้งที่ 7.  กรุงเทพฯ : ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

ภิรมย์  กมลรัตนกุล.  (2531).  หลักเบื้องต้นในการทำวิจัย.  กรุงเทพมหานคร : หอสมุดกลาง.

            สุวัฒนา สุวรรณเขตนิคม.  (2538).  หลักการ แนวคิดและรูปแบบเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน.  เส้นทางสู้การวิจัยในชั้นเรียน.  กรุงเทพมหานคร : บพิธการพิมพ์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น