จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

รูปแบบการวิจัย (Research Design)


บุญชม  ศรีสะอาด  (2554:189)  ได้รวบรวมไว้ว่า ในการวิจัยบางเรื่องผู้วิจัยควรกล่าวถึงรูปแบบในการวิจัยเพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ดังตัวอย่าง รูปแบบการวิจัยเรื่อง การศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างของผลการสอนด้วยตำราเรียนวิชาจิตวิทยาการศึกษาในรูปแบบเชิงปัญหากับรูปแบบที่ใช้กันอยู่ทั่วไป
http://btananuwat.tripod.com/ete493/defind.pdf ได้รวบรวมไว้ว่า รูปแบบการวิจัยหมายถึง ขอบข่ายของการวิจัยที่แสดงถึงแบบจำลองของการจัดกระทำตัวแปรในการวิจัย เพื่อให้ได้คำตอบบรรลุจุดมุ่งหมายของการวิจัยอย่างถูกต้องสมบูรณ์ รูปแบบของการวิจัยสามารถแยกออกได้เป็น 2 รูปแบบใหญ่ๆ คือ รูปแบบการวิจัยเชิงคุณภาพ และรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ ซึ่งรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ สามารถจำแนกการวิจัยออกเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ การวิจัยเชิงพรรณนา และการวิจัยเชิงทดลอง
ภัทรา นิคมานนท์ (2542:67) กล่าวว่า ผู้วิจัยจะต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับรูปแบบของการวิจัยเป็นอย่างดีเสียก่อนว่าการวิจัยแต่ละประเภทมีวัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่ออะไร มีกระบวนการวิจัยอย่างไร และมีข้อจำกัดอะไรบ้าง รูปแบบการวิจัยที่น่าสนใจมีหลายรูปแบบ ได้แก่
1.การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ เป็นการวิจัยที่มุ่งค้นหาข้อเท็จจริงหรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและผ่านพ้นมาแล้วในอดีต เพื่อนำไปสู่การศึกษาแนวโน้มในอนาคต โดยใช้ข้อมูลเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของทฤษฎี เหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ในอดีตเป็นตัวพยากรณ์ ข้อมูลจากการวิจัยเชิงประวัติศาสตร์สามารถนำมาสร้างมาตรฐานเพื่อปรับปรุงงานในปัจจุบันได้
2.การวิจัยเชิงพรรณนา เป็นการวิจัยที่มุ่งอธิบายลักษณะหรือปรากฏการณ์ที่เป็นอยู่ในปัจจุบันว่าคืออะไร มีสภาพความเป็นจริงอย่างไร ผลที่เกิดขึ้นมีสาเหตุมาจากอะไร โดยศึกษาถึงสถานภาพของเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน แล้วนำมาพิจารณาถึงเหตุการณ์หรือปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นๆเพื่อหาคำอธิบายที่ถูกต้อง ข้อค้นพบที่ได้จากการวิจัยเชิงพรรณนานำมาสร้างมาตรฐานหรือเกณฑ์ปกติ และรูปแบบของปรากฏการณ์หรือเหตุการณ์ต่างๆ เพื่อใช้ในการเปรียบเทียบต่อไปได้
3.การวิจัยการทดลอง เป็นการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเหตุและผล โดยใช้วิธีการให้กลุ่มตัวอย่างได้มีกิจกรรมตอบสนอง ภายใต้สถานการณ์ที่กำหนดให้ การสรุปผลใช้วิธีเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้อยู่ภายใต้เงื่อนไขนั้น
สรุป รูปแบบการวิจัย หมายถึง ขอบข่ายของการวิจัยที่แสดงถึงแบบจำลองของการจัดกระทำตัวแปรในการวิจัย เพื่อให้ได้คำตอบบรรลุจุดมุ่งหมายของการวิจัยอย่างถูกต้องสมบูรณ์ รูปแบบการวิจัยที่น่าสนใจมีหลายรูปแบบ ได้แก่ การวิจัยเชิงประวัติศาสตร์ การวิจัยเชิงพรรณนา การวิจัยการทดลอง เป็นต้น 
ที่มา : บุญชม  ศรีสะอาด.  (2554).  การวิจัยเบื้องต้น.  (พิมพ์ครั้งที่ 9).  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 
ชื่อเว็บไซค์  http://btananuwat.tripod.com/ete493/defind.pdf  เข้าถึงเมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2555.
ภัทรา นิคมานนท์.  (2542). ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย. พิมพ์ครั้งที่ 2.  กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น