จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

การวิเคราะห์ข้อมูล (Data Analysis)


อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ (2555:100)  ได้กล่าวไว้ว่า  การวิเคราะห์ข้อมูล เป็นสิ่งที่สำคัญในการวิเคราะห์ข้อมูลก็คือ ผู้วิจัยต้องเลือกใช้สถิติให้เหมาะสมสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ในการวิจัย และลักษณะของข้อมูลสถิติที่ได้รับความนิยมในการนำไปใช้ ได้แก่
                   1 สถิติอธิบายคุณลักษณะหรือรายละเอียดของกลุ่มที่ศึกษา ได้แก่
                              1.1 ร้อยละ
                              1.2 การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง
                              1.3 การวัดการกระจาย
                   2 สถิติหาค่าความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัวได้แก่
                               2.1 สหสัมพันธ์อย่างง่าย
                               2.2 สหสัมพันธ์ระหว่างอันดับ
                   3 สถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของ กลุ่มเดียวได้แก่ t-test one-Group
                    4 สถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของ กลุ่ม 2 กลุ่ม ได้แก่ t-test
                   5 สถิติที่ใช้ทดสอบสมมุติฐานเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างค่าเฉลี่ยของกลุ่มมากกว่า 2 กลุ่มขึ้นไปได้แก่ Analysis of Variance (ANOVA)
                   6 สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความแตกต่างและความสัมพันธ์ กรณี ข้อมูลอยู่ในรูปของความถี่ได้แก่ Chi-Square


ภัทรา นิคมานนท์ (2542:58) กล่าวว่า เป็นการนำข้อมูลที่ได้จัดระเบียบแล้วมาคำนวณหาค่าสถิติต่างๆตามที่ต้องการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลมีดังนี้

1.สถิติพื้นฐาน ได้แก่ สถิติวิเคราะห์เพื่อแสดงความหมายทั่วไปของข้อมูล และใช้เป็นพื้นฐานในการคำนวณสถิติขั้นสูงต่อไป สถิติพื้นฐานได้แก่

      1.1 การแจกแจงความถี่ เป็นการวิเคราะห์เพื่อการแจงนับข้อมูล ให้เห็นภาพรวมของข้อมูลว่ามีลักษณะการกระจายอย่างไร

      1.2 การวัดแนวโน้มเข้าสู่ส่วนกลาง เป็นการวิเคราะห์เพื่อหาค่ากลางเพื่อใช้เป็นตัวแทนของข้อมูลชุดหนึ่งๆ ทำให้สามารถอธิบายความหมายของข้อมูลทั้งหมดได้ชัดเจนขึ้น ได้แก่ ค่าเฉลี่ย มัธยฐาน ฐานนิยม

      1.3 การวัดการกระจาย เป็นการวิเคราะห์ลักษณะการกระจายของข้อมูลที่รวบรวมมาได้ เพื่อให้เห็นความแตกต่างของข้อมูลนั้น ได้แก่ พิสัย ความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และความแปรปรวน

      1.4 การเปรียบเทียบ เป็นการวิเคราะห์เพื่อนำไปใช้ในการเปรียบเทียบข้อมูลต่างกัน เช่น อัตราส่วน ร้อยละ เปอร์เซ็นไทล์ คะแนนมาตรฐาน เช่น คะแนนซี (Z-score) และคะแนนที (T-score)

2.สถิติสำหรับการทดสอบสมมติฐาน เป็นสถิติที่ใช้สำหรับการวิเคราะห์เพื่อทดสอบสมมติฐานว่าเป็นจริงตามที่กำหนดไว้หรือไม่ ได้แก่

     2.1 การทดสอบความแตกต่างระหว่างกลุ่ม ได้แก่ T-test และ F-test ไคสแควร์ (chi-square) เป็นต้น

     2.2 การหาความสัมพันธ์ เป็นการวิเคราะห์เพื่อให้ทราบความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลตั้งแต่ 2 ชุดขึ้นไปว่ามีความสัมพันธ์กันหรือไม่ และสัมพันธ์กันในลักษณะใด ได้แก่ การหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ฯลฯ

http://e-book.ram.edu/e-book/m/MR393/chapter8.pdf ได้รวบรวมไว้ว่า การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ จากกลุ่มตัวอย่างหรือจากประชากรการวิจัยจำนวนหนึ่ง มาจำแนกเพื่อตอบประเด็นปัญหาการวิจัย หรือทดสอบสมมุติฐานการวิจัยให้ครบทุกข้อ ถ้าข้อมูลเชิงปริมาณหรือเป็นตัวเลข ผู้วิจัยจะใช้วิธีการทางสถิติสรุปรวมข้อมูล แต่ถ้าเป็นข้อมูลเชิงคุณภาพผู้วิจัยจะใช้วิธีการสรุปความ หรือสังเคราะห์ข้อความ


สรุป การวิเคราะห์ข้อมูล หมายถึง การนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมได้ จากกลุ่มตัวอย่างหรือจากประชากรการวิจัยจำนวนหนึ่ง มาจำแนกเพื่อตอบประเด็นปัญหาการวิจัย แล้วมาคำนวณหาค่าสถิติต่างๆตามที่ต้องการเพื่อสรุปเป็นผลการศึกษาวิจัย


ที่มา :อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ.  (2555).  เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เค้าโครงการวิจัย. 

ภัทรา นิคมานนท์.  (2542).  ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการวิจัย.  พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : อักษราพิพัฒน์.

เว็บไซต์ http://e-book.ram.edu/e-book/m/MR393/chapter8.pdf เข้าถึงเมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2555.





ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น