จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

วัตถุประสงค์ของการวิจัย (Objective)


www.satit.nu.ac.th/nud/strand/science/project_1/Proposal.doc     ได้รวบรวมไว้ว่าวัตถุประสงค์  :  เป็นการบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยเรื่องนี้  การกำหนดวัตถุประสงค์อย่างแรกที่ใช้  คือ  เพื่อบรรยาย   ต่อมาก็  เพื่อสำรวจ  ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์ที่ทำได้ง่ายที่สุด   สูงขึ้นมาก็คือ  เพื่อเปรียบเทียบ   สูงขึ้นมาอีกก็คือ  เพื่ออธิบาย      สูงขึ้นไปอีกก็คือ  เพื่อทำนายว่าในอนาคตจะเกิดอย่างไร สูงขึ้นไปอีกขั้นหนึ่งก็คือ เพื่อสังเคราะห์ผลการวิจัย  ดีไปกว่านั้นก็คือ เพื่อประเมิน   และอันสุดท้าย  คือ  เพื่อพัฒนาและตรวจสอบ  เป็นวัตถุประสงค์ขั้นสูงสุดที่นักวิจัยอยากจะตั้งวัตถุประสงค์ให้ถึงขั้นนี้


อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ (2555:3)  ได้กล่าวไว้ว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นการกล่าวถึงปัญหาที่ต้องการทราบว่า ต้องการคำตอบอะไรบ้าง  ควรมีลักษณะดังนี้

1.  ควรเป็นข้อความบอกเล่า

2. วัตถุประสงค์แต่ละข้อควรมีนัยสำคัญเพียงพอ  และมีนัยเดียว  หากมีส่วนประกอบของ

    นัยสำคัญมากกว่า 1 อย่าง  ให้อยู่ในหัวข้อย่อยของวัตถุประสงค์ข้อนั้น

3. ตรงและสอดคล้องกับปัญหาที่ต้องการทำวิจัย 

4. ครอบคลุมสิ่งที่ต้องการวิจัยทั้งหมด 

5. ควรกำหนดให้ชัดเจนว่าต้องการศึกษาอะไร  กับใคร  ที่ไหน  อย่างไร

6. ไม่ควรเพิ่มเติมประเด็นอื่นๆ ที่ไม่ใช่วัตถุประสงค์ของการวิจัยโดยตรง


บุญชม  ศรีสะอาด  (2554:17)  ได้รวบรวมไว้ว่า วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งของการวิจัย ถ้ากำหนดวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจนจะทำให้ผลการวิจัยที่ได้ไม่สอดคล้องกับความต้องการของปัญหาที่จะศึกษา ในบางครั้งถ้าพิจารณาชื่อเรื่องอย่างเดียวไม่สามารถตอบคำถามได้ครบตามต้องการจึงจำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ทำวิจัยสามารถบอกรายละเอียดได้ว่า จะต้องศึกษาอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอผลการวิจัยได้อย่างชัดเจน การกำหนอวัตถุประสงค์ ควรทำเป็นข้อๆเพื่อความสะดวกและมีความชัดเจนในการวิเคราะห์และตอบคำถามของแต่ละข้อ สำหรับการตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยส่วนใหญ่ควรขึ้นต้นด้วยคำว่า “เพื่อ” และตามด้วยข้อความที่จะแสดงการกระทำในการวิจัย ซึ่งมักจะเป็นคำต่อไปนี้ เช่น ศึกษา เปรียบเทียบ หาความสัมพันธ์ หาผลกระทบ เป็นต้น

สรุป วัตถุประสงค์ของการวิจัย เป็นการบอกจุดมุ่งหมายในการทำวิจัยเรื่องนี้ การกำหนดวัตถุประสงค์อย่างแรกที่ใช้  คือ “เพื่อ” และตามด้วยข้อความที่จะแสดงการกระทำในการวิจัย ถ้ากำหนดวัตถุประสงค์ไม่ชัดเจนจะทำให้ผลการวิจัยที่ได้ไม่สอดคล้องกับความต้องการของปัญหาที่จะศึกษา ในบางครั้งถ้าพิจารณาชื่อเรื่องอย่างเดียวไม่สามารถตอบคำถามได้ครบตามต้องการจึงจำเป็นจะต้องกำหนดวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแนวทางให้ผู้ทำวิจัยสามารถบอกรายละเอียดได้ว่า จะต้องศึกษาอะไรบ้าง เพื่อเป็นแนวทางในการวิเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอผลการวิจัยได้อย่างชัดเจน


ที่มา : ชื่อเว็บไซค์  www.satit.nu.ac.th/nud/strand/science/project_1/Proposal.doc    เข้าถึงเมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2555.

อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ.  (2555).  เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เค้าโครงการวิจัย. 

บุญชม  ศรีสะอาด.  (2554).  การวิจัยเบื้องต้น.  (พิมพ์ครั้งที่ 9).  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น