จำนวนการดูหน้าเว็บรวม

วันศุกร์ที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2556

ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง (Review of Related Literature)


บุญชม  ศรีสะอาด (2554:187-188) ได้รวบรวมไว้ว่า ทฤษฏีและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้อง (Related Literature) หรือที่เรียกว่าเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย หรือวรรณคดีที่เกี่ยวข้อง กล่าวถึงทฤษฎีที่เกี่ยวกับงานวิจัยและผลการวิจัยของคนอื่นๆ ที่ได้ทำไปแล้วในเรื่องเดียวกันหรือเกี่ยวข้องกัน การเขียนไม่ใช่การนำเอาทฤษฎีและผลการวิจัยที่เกี่ยวข้องมาเขียนเรียงตามลำดับต่อๆกันไปให้ครบถ้วน แต่ผู้วิจัยต้องจัดระบบหรือวางโครงเรื่องเลือกสรรเอาเนื้อหาสาระที่จำเป็นมาเขียนตามโครงเรื่อง ควรเขียนในลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าการวิจัยเรื่องนั้นพัฒนาจากทฤษฎี และผลการวิจัยที่ผ่านมาเช่นไร อาจชี้ถึงข้อผิดพลาดในการวิจัยที่ผ่านมา ข้อสรุปจากผลการวิจัยต่างๆที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ 

www.satit.nu.ac.th/nud/strand/science/project_1/Proposal.doc     ได้รวบรวมไว้ว่า ทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้อง : เป็นการทบทวนแนวคิดหรือทฤษฎีต่าง ๆ ที่จะนำมาเป็นกรอบความคิดในงานวิจัยของเรา หากเป็นงานวิจัยเชิงปริมาณจะให้ความสำคัญมากเพราะจะนำไปสู่การตั้งคำถามในแบบสอบถาม ส่วนการทบทวนงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นการทบทวนงานวิจัยที่ใกล้เคียงกับของเราซึ่งอาจใกล้เคียงในด้านความสำคัญของปัญหาการวิจัยหรือวิธีในการดำเนินการวิจัยก็ได้  การเขียนจะต้องเรียบเรียงความคิดให้เป็นระบบ  มีการสรุปในตอนท้ายของแต่ละตอนและให้เชื่อมโยงกับย่อหน้าต่อไปด้วย

อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ  (2555 : 5) ได้ให้หลักการเขียนเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย  ดังนี้

1. ควรเขียนให้ต่อเนื่องเกี่ยวโยงกันตลอดเนื้อหา  

2. ไม่ควรเขียนเรียงตามปีหรือตามชื่อผู้เขียน  ควรเรียบเรียงใหม่ตามแนวคิดและตัวแปรที่ศึกษา  โดยระบุความสำคัญ และความสัมพันธ์ของตัวแปรต่างๆ  (เพ็ญแข  แสงแก้ว   2541 : 24)

3. ควรแบ่งกลุ่มหรือประเภทเนื้อหาที่นำมาอ้างอิง  จัดให้เป็นหมวดหมู่   โดยแบ่งออกเป็นประเด็นต่าง ๆ หรือ แยกเป็นหัวเรื่องต่าง ๆ อย่างชัดเจน 

4. ทฤษฏี  แนวคิด  หลักการ และงานวิจัยที่นำมาเขียนหรืออ้างอิง   ต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยที่ศึกษาโดยตรง  

5. ควรมีการสรุปประเด็นหรือหัวเรื่องที่นำเสนอทุกเรื่อง ตามแนวคิดของผู้วิจัยเอง  เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจในเรื่องนั้นๆ  โดยใช้คำว่า  จากที่กล่าวมา สรุปได้ว่า. หรือ จะเห็นได้ว่า.1 เป็นต้น

6. ควรมีการอ้างอิงอย่างถูกต้อง  และชัดเจน 

7. ลักษณะการเขียนเอกสารที่เกี่ยวข้องในแต่ละหัวเรื่อง  ควรประกอบด้วย  3  ส่วน  คือ

                   7.1   ความนำ (introduction) 

         7.2   เนื้อหา (body)  เป็นการนำเสนอทฤษฏี  แนวคิด  หลักการ 

     7.3   สรุปความเห็น (conclusion)  เป็นความคิดเห็นของผู้วิจัย

สรุป การศึกษาค้นคว้าเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย จะช่วยให้ได้แนวทางในการวิจัยช่วยให้ทำการวิจัยได้สำเร็จอย่างมีคุณภาพ นอกเหนือจากการช่วยให้ได้ปัญหาในการวิจัยสำหรับผู้วิจัยบางคน ซึ่งเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการวิจัย หมายถึง ตำรา หนังสือ เอกสารอ้างอิง รายงานการวิจัย บทคัดย่อการวิจัย วารสาร นิตยสารที่มีเนื้อหาสาระเกี่ยวข้อง หรือสอดคล้องกับเรื่องที่วิจัยที่สามารถอ้างอิงได้

ที่มา :  บุญชม  ศรีสะอาด.  (2554).  การวิจัยเบื้องต้น.  (พิมพ์ครั้งที่ 9).  กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น. 

ชื่อเว็บไซค์  www.satit.nu.ac.th/nud/strand/science/project_1/Proposal.doc    เข้าถึงเมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2555.

อรุณรุ่ง  ปภาพสิษฐ.  (2555).  เอกสารประกอบการเรียน เรื่อง เค้าโครงการวิจัย. 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น